ตอบ

ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
10+5=? < สิบบวกห้า เท่ากับ อะไร ให้ใส่คำตอบตัวเลขด้านล่างก่อนแสดงความคิดเห็น>:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย beepopeko
 - 19 ม.ค 2025, 18:32
ทรีฮาโลส, ทรีมาโลส, ไมโคส, น้ำตาลถนอมอาหาร, Trehalose, Tremalose, Mycose, Sweetener



สามารถสอบถามข้อมูลสินค้า ขอตัวอย่างสินค้าทดลอง และสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด (วัตถุเจือปนอาหาร)
Thai Poly Chemicals Company (Food Additive)


Website : www.thaipolychemicals.com

Tel No : 034-854-888

Mobile : 089-312-8888

Line ID : thaipoly8888



Email: polychemicals888@gmail.com


ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทรีฮาโลส
ทรีฮาโลส (Trehalose) น้ำตาลถนอมอาหาร ที่ช่วยทำให้เนื้อสัมผัสดีขึ้นในอาหารพร้อมรับประทาน ทรีฮาโลส (Trehalose) เป็นสารที่จัดในประเภทน้ำตาลชนิดหนึ่ง มีอยู่ในธรรมชาติ แต่คุณสมบัติของมันนั้นไม่ได้เน้นมาใช้ในการให้ความหวาน แต่นำมาเพื่อปรับปรุงเนื้อสัมผัสของอาหาร เช่น ช่วยให้ของทอดกรอบนานขึ้น ทำให้ข้าวสวยหุงแล้วคงสภาพได้นานขึ้น คุณอาจจะเคยมีประสบการณ์ว่า สั่งไก่ทอดกินที่ร้านอร่อยมาก แต่สั่งกลับบ้าน ไก่ทอดก็ดูเไม่อนุญาต่ยวๆไปแล้ว ดังนั้นทรีฮาโลส (trehalose) จึงเหมาะสำหรับการปรับปรุง คุณภาพอาหารสำหรับอาหาร delivery เป็นอย่างยิ่ง ทรีฮาโลส (Trehalose) หรือ ไมโคส (Mycose) หรือ ทรีมาโลส (Tremalose) จัดเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง เป็นไดแซ็กคาไรด์ ที่มีพันธะไกลโคซิดิก (α,α -1,1-glycosidic) เชื่อมตรงกลางระหว่าง กลูโคส 2 โมเลกุล พันธะนี้เป็นพันธะโควาเลนท์ ที่เชื่อมหมู่ฟังก์ชันเฮมิอะซีทัลให้ครบวง ทำให้ไม่มีหมู่ฟังก์ชันที่กลายสภาพเป็นตัวรีดิวซ์ จึงทำให้ทรีฮาโลส สามารถทนต่อความร้อนและกระบวนการไฮโดรไลซิส รวมถึงสามารถคงสภาพส่วนประกอบอื่นในผลิตภัณฑ์ได้ ทรีฮาโลส มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C12H22O11 . 2H2O มีน้ำหนักโมเลกุล 378.33 g/mol ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1832 โดยเอช. เอ. แอล. วิกเกอส์ (H.A.L Wiggers) ในธรรมชาติสามารถพบทรีฮาโลส ได้ทั้งในพืช สัตว์ แบคทีเรีย ยีสต์ รา สาหร่าย แมลงหลายชนิด เปลือกของสัตว์ทะเลจำพวกพวก กุ้ง ปู รวมถึงอาหารหลายประเภท เช่น บริวเวอร์ยีสต์ ขนมปัง เบียร์ ไวน์ น้ำผึ้ง และเห็ด เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตหลายชนิดตั้งแต่แบคทีเรีย เห็ดรา พืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สามารถสังเคราะห์ ทรีฮาโลสจากกลูโคส และใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น แมลงใช้ทรีฮาโลสเป็นแหล่งพลังงาน  ขณะที่พืชสกุล Selaginella ใช้ทรีฮาโลสในการปกป้องและฟื้นฟูตัวเองในภาวะขาดอาหารหรือในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่สามารถย่อยทรีฮาโลส ให้กลายเป็นกลูโคสด้วยเอนไซม์ทรีฮาเลส ในลำไส้เล็ก

คุณสมบัติของ ทรีฮาโลส (Trehalose)
มีความหวานประมาณ 40-45% ของน้ำตาลทราย
ละลายน้ำได้ดี
มีความคงตัวต่อความเป็นกรดและความร้อนสูง
ไม่ทำให้เกิดสีน้ำตาล จากปฏิกิริยา Maillard reaction
ดูดความชื้นต่ำ (Low hygroscopicity) สามารถไหลได้อย่างอิสระ free-floไม่อนุญาตg ในสภาวะที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง
มีคุณสมบัติลดจุดเยือกแข็ง 
มี High glass transition temperature สูง เมื่อเทียบกับไดแซ็กคาไรด์อื่น ๆ คุณสมบัตินี้มีประโยชน์เฉพาะตัวในการยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหาร

ประโยชน์ของทรีฮาโลส (Trehalose)
การใช้ทรีฮาโลสในสูตรอาหาร จะช่วยให้อาหารดูสดใหม่และน่ารับประทาน ทรีฮาโลสมีประโยชน์เชิงหน้าที่มากมาย  เช่น
รักษาความสด มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการกักเก็บความชื้น ทำให้สามารถปกป้องอาหารไม่ให้แห้งได้
ปรับปรุงเนื้อสัมผัส ช่วยในเรื่องของความกรอบ, เนื้อสัมผัสที่เนียนเรียบ, ความคงตัวของเนื้อสัมผัส
ลดความเสียหายจากการแช่แข็ง-การละลายน้ำแข็ง (Freeze-thaw stability) ป้องกันการสียสภาพของโปรตีน และป้องกันการสูญเสียน้ำระหว่างการละลาย จึงเหมาะที่จะใช้กับผลิตภัณฑ์จำพวกปลา หรืออาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากไข่ ขนมหวาน
คงสภาพสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลไม้และผักแปรรูป
ด้านกลิ่นรส ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของกลิ่นรส  ช่วยบดบังกลิ่นรสที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นคาวของอาหารทะเล ความฝาด ความขมของกรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูง
ป้องกันการเกิด Retrogradation (รีโทรเกรเดชัน) ของแป้ง
ปกป้องคุณภาพอาหารระหว่างการอบแห้ง การแปรรูป และการเก็บรักษาเพื่อรักษาเนื้อสัมผัสและรสชาติที่สดใหม่


การประยุกต์ใช้ทรีฮาโลส (Trehalose) ในอุตสาหกรรมอาหารผักอบแห้ง
การใช้สารละลายทรีฮาโลส แช่ผักก่อนนำไปอบแห้ง จะช่วยปกป้องเซลล์ผัก และเมื่อนำผักที่ผ่านการอบแห้งมาคืนสภาพโดยการแช่น้ำ (Rehydration) ระดับการคืนตัวของผักหลังการ Rehydration จะสูง ทรีฮาโลส ยังมีผลยับยั้งไม่ให้น้ำในผักออกมาในระหว่างการ Rehydration ได้ดี น้ำที่แช่ผักจะใส และไม่ขุ่น

ผลิตภัณฑ์ผักแช่แข็ง
การใช้สารละลายทรีฮาโลส แช่ผักก่อนนำไปแช่งเข็ง จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของผลึกน้ำแข็ง ผลึกน้ำแข็งที่มีขนาดค่อนข้างเล็กสร้างความเสียหายต่อเซลล์ผักน้อยกว่าและทำให้ผักไม่เสียหาย หลังจากละลายน้ำแข็ง ผักที่แช่สารละลายทรีฮาโลส ความสมบูรณ์ของผักดีกว่าผักในความฝันที่ไม่ได้แช่สารละลายทรีฮาโลส

ช็อคโกแลต
การใช้ทรีฮาโลสในช็อคโกแลต จะทำให้ช็อคโกแลตมีคุณภาพดี เนื้อสัมผัสเรียบเนียน เพิ่มรสชาติ ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติป้องกันการละลาย ทนความร้อนได้ดี ทำให้ช็อคโกแลตละลายช้า

ขนมปัง, เค้ก
ทรีฮาโลสช่วยให้เนื้อสัมผัสของ ขนมปัง, เค้ก นุ่ม มีความชุ่มชื้น มีรสชาติดี ความหวานต่ำ เพิ่มความคงตัวต่อความร้อน ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

เยลลี่, พุดดิ้ง
ทรีฮาโลสช่วยปรับปรุงรสชาติของเยลลี่ พุดดิ้ง มีความหวานต่ำ ทำให้เจลคงตัว ป้องกันการเกิดสีน้ำตาล

เครื่องดื่มน้ำผลไม้
ทรีฮาโลสช่วยปรับปรุงรสชาติและความสดของน้ำผลไม้ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงสี ปรับปรุงความหวาน และช่วยบดบังรสฝาดของน้ำผลไม้

ข้าวหุงสำเร็จรูป
ทรีฮาโลสช่วย ป้องกันการเกิดการแข็งตัวของข้าว (Retrogradation) ช่วยให้ข้าวนุ่ม ปรับปรุงรสชาติ และเพิ่มกลิ่นรส

แป้งชุบทอด
ทรีฮาโลสช่วยเพิ่ม ความกรอบของแป้งสำหรับชุบทอด ให้ผลิตภัณฑ์หลังทอดมีความกรอบยาวนานขึ้น แป้งชุบทอดที่ผสมทรีฮาโลส หลังทอดเสร็จ จะมีสีเหลืองสวยและเนื้อสัมผัสที่กรอบกว่าแป้งที่ไม่ได้ผสมทรีฮาโลส
นอกจากนี้ยังมีใช้ทรีฮาโลส ในการผลิตอาหารประเภทอื่นๆ อย่างกว้างขวางอีกด้วย



Product description of Trehalose
Trehalose is a natural sugar composed of 2 glucose mไม่อนุญาตcules (disaccharides). It is a colorless, odorless crystalline powder that is approximately 45% of the sweetness of ordinary sugar, soluble in water. The name of this disaccharide comes from the biblical word "trehala", which means manna that God gave to the Jews from heaven when the Israelites left Egypt. It is a leader among sweeteners due to its health benefits and lack of side effects. Trehalose is derived from tapioca starch and, more importantly, has a high capacity to absorb water and reduce its activity. Thus, in products with high moisture content (between 7-9 %), trehalose keeps cakes, cookies and other products fluffy; in specialty foods with low moisture content (between 2-5 %), it preserves the crispness of cookies, crackers and tea cakes. Many insects incorporate this disaccharide directly into their metabolism. In bees, for example, it acts as the main source of energy, circulating through the hemolymph instead of the blood.

สินค้าในความฝัน สวีทเทนเนอร์, Sweetener ที่บริษัท ฯ จัดจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่
Acesulfame K, ACK, อะซีซัลเฟมเค, เอซีเค | Acesulfame Potassium, อะซีซัลเฟมโพแทสเซียม | Artificial Sweeteners, สารทดแทนน้ำตาล | Aspartame, แอสปาร์แตม, แอสพาร์แตม | Dextrose Anhydrous, เด็กซ์โตรสแอนไฮดรัส | Dextrose Monohydrate, เด็กซ์โตรสโมโนไฮเดรต | Dextrose Syrup, น้ำเชื่อมเด็กซ์โตรส, เด็กซ์โตรสไซรัป | D-Xylose, ดีไซโลส | Erythritol, อิริทริทอล, น้ำตาลอิริท | Ethyl Maltol, เอทิลมัลทอล | Ethyl Vanillin, เอทิลวานิลิน | Fructose Powder, ฟรุกโตสผง, ฟรักโทสผง | Fructose Syrup, น้ำเชื่อมฟรุกโตส, ฟรุกโตสไซรัป | Glucitol Powder, กลูซิทอลผง, ผงกลูซิทอล | Glucitol Syrup, น้ำเชื่อมกลูซิทอล, กลูซิทอลไซรัป | Glucose Powder, กลูโคสผง, ผงกลูโคส, แบะแซผง | Glucose Syrup, น้ำเชื่อมกลูโคส, กลูโคสไซรัป, แบะแซ | Glycerine, กลีเซอรีน, กลีเซอรีนบริสุทธิ์, รีไฟน์กลีเซอรีน | Glycerol, กลีเซอรอล, กลีเซอรอลบริสุทธิ์, รีไฟน์กลีเซอรอล | Hydrogenated Maltose Syrup, ไฮโดรจีเนตมอลโตส | Icing Sugar, น้ำตาลไอซิ่ง, น้ำตาลทรายผง | Inulin, Chicory Inulin, อินูลิน, อินนูลิน | Isomalt, ไอโซมอลท์, ไอโซมอลต์ | Lactitol Monohydrate, แลคติทอล โมโนไฮเดรต | Luo Han Guo Extract, น้ำตาลหล่อฮังก๊วย | Maltitol, มอลทิทอล, มอลติตอล, มัลทิทอล | Maltitol Powder, มอลทิทอลผง, ผงมอลทิทอล | Maltitol Syrup, น้ำเชื่อมมอลทิทอล, มอลทิทอลไซรัป | Maltodextrin, มอลโทเด็กซ์ทริน, มอลโตเด็กซ์ตริน | Maltose Syrup, น้ำเชื่อมมอลโทส, มอลโทสไซรัป | Mannitol, แมนนิทอล, มันนิทอล | Mogroside V, โมโกรไซด์, โมโกรไซด์วี | Monk Fruit Extract, น้ำตาลหล่อฮังก๊วย  | Mycose, ไมโคส, น้ำตาลถนอมอาหาร | Neotame, นีโอแตม, นีโอเตม | Sodium Cyclamate, โซเดียมไซคลาเมต, แป้งหวาน | Sodium Saccharin, โซเดียมแซคคาริน, ขัณฑสกร, ดีน้ำตาล | Sorbitol, ซอร์บิทอล, ซอร์บิตอล | Sorbitol Powder, ซอร์บิทอลผง, ผงซอร์บิทอล | Sorbitol Syrup, น้ำเชื่อมซอร์บิทอล, ซอร์บิทอลไซรัป | Specialty Sweetener, สารเพิ่มความหวานชนิดพิเศษ | Stevia, หญ้าหวาน, สตีเวีย, รีเบาดิโอไซด์เอ | Stevia Extract, สารสกัดหญ้าหวาน, สตีวิออลไกลโคไซด์ | Stevia Sugar, น้ำตาลหญ้าหวาน, น้ำตาลสตีเวีย | Sucralose, ซูคราโลส, ซูคาร์โลส | Sugar, น้ำตาลทราย, น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ | Sugar Substitutes, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล | Trehalose, ทรีฮาโลส, ตรีฮาโลส | Tremalose, ทรีมาโลส, ตรีมาโลส | Vanillin Powder, วานิลิน, วะนิลิน | Xylitol, ไซลิทอล, ไซลิตอล, น้ำตาลเทียม |


เคมีภัณฑ์ เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, เคมีภัณฑ์ เกรดยา, เกรดยูเอสพี, เกรดอีพี, เกรดเจพี
สอบถามข้อมูลได้ที่ บจก. ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด, คุณภาพเคมีภัณฑ์ สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
Chemical, Food Grade, Food Additive, FCC, Pharmaceutical Grade, USP, EP, JP

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สวีทเทนเนอร์ สามารถสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ที่ บจก.ไทยโพลีเคมิคอล
More information of Sweetener, Please Contact Thai Poly Chemicals Company, POLY CHEMICALS FOR A BETTER LIFE


สามารถสอบถามข้อมูลสินค้า ขอตัวอย่างสินค้าทดลอง และสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด (วัตถุเจือปนอาหาร)
Thai Poly Chemicals Company (Food Additive)


Website : www.thaipolychemicals.com

Tel No : 034-854-888

Mobile : 089-312-8888

Line ID : thaipoly8888



Email: polychemicals888@gmail.com


วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)
วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) คือ วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหาร หรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึง วัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะ แล้วใส่รวมกับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น โดยไม่รวมถึงสารอาหารที่เติม เพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน

ประโยชน์ในการใช้ วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)
เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ให้มีความคงตัว เพื่อให้ได้ส่วนประกอบของอาหารเฉพาะในการผลิตอาหาร สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการทางโภชนาการเฉพาะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคุณภาพในอุตสาหกรรม ในการผลิตในปริมาณมาก หรือปรับปรุงคุณลักษณะด้านประสาทสัมผัส โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณภาพและลักษณะของอาหาร เพื่อช่วยในการผลิต การแปรรูป การปฏิบัติ การบรรจุ การขนส่ง หรือการเก็บรักษาอาหาร โดยต้องไม่ใช้ วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ในการปกปิดความบกพร่องของอาหาร หรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่เหมาะสม

การใช้งาน วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)
ในการใช้ วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ ในแต่ละประเภทอาหารต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ที่ใช้ต้องมีการประเมินด้านความปลอดภัยโดย JECFA หรือผ่านการประเมินที่มีความเทียบเท่ากับ JECFA เพื่อกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake: ADI) คือปริมาณของ วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ที่แสดงในรูปของ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน โดยบริโภคได้ทุกวัน ตลอดชีวิต โดยไม่เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

การแบ่งกลุ่ม วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)
โคเด็กซ์ (Codex) ได้จัดแบ่งกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ตามหน้าที่ ออกเป็น 27 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ คือ

สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity Regulator) | สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (Anticaไม่อนุญาต Agent) | สารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoaming Agent) | สารป้องกันการเกิดออกซิเดชัน (Antioxidant) | สารฟอกสี (Bleaching Agent) | สารเพิ่มปริมาณ (Bulไม่อนุญาต Agent) | สารให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbonating Agent) | สารช่วยทำละลายหรือช่วยพา (Carrier) | สี (Color) | สารคงสภาพของสี (Color Retention Agent) | อีมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) | เกลืออีมัลซิไฟอิ้ง (Emulsifying Agent) | สารทำให้แน่น (Firming Agent) | สารเพิ่มรสชาติ (Flavor Enhancer) | สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour Treatment Agent) | สารทำให้เกิดฟอง (Foaming Agent) | สารทำให้เกิดเจล (Gelling Agent) | สารเคลือบผิว (Glazing Agent) | สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant) | ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (Packaging Gas) | สารกันเสีย (Preservative) | ก๊าซที่ใช้ขับดัน (Propellant) | สารช่วยให้ฟู (Raising Agent) | สารช่วยจับอนุมูลอิสระ (Sequestrant) | สารทำให้คงตัว (Stabilizer) | สารให้ความหวาน (Sweetener) | สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)

More information of Food additive, Food Grade Chemical
Food Chemical Codex, FCC, EP, USP, JP, please contact
Thai Poly Chemicals Company (TPCC) (Food Additive)


Website : www.thaipolychemicals.com

Tel : +6634 854888, +668 9312 8888

Official Line ID: thaipoly8888



Email: thaipoly8888 (at) gmail.com